top of page

    บันทึกการฝึกงานสหกิจศึกษา

รายงานปฏิบัติงาน วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2561

     

          ช่วงเช้าช่วยงานประชุมประชาวิจารณ์ ALIPOLIS และช่วงบ่ายได้ทำการปรับแก้ให้ตัวหุ่นยนต์จำลองให้สามารถควบคุมได้ดีกว่าเดิม เพราะว่าจากการทดสอบดูยังมีบัคในบางจุดอยู่

    

นางสาวทิภาพร  มูลราช

รายงานปฏิบัติงาน วันที่ 7 - 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2561

ได้ทำการปรับแต่งรายละเอียดงานในส่วนย่อย เช่น สามารถหยิบจับวัตถุในระบบได้ในบางจุด เช่น กระถางต้นไม้  ทำระบบการแสดงวีดีโอโดยใช้สคริป Raycast เมื่อเจอกับวัตถุที่ชื่อ Head และทำการตกแต่งหน้า เริ่มต้นโดยนำดอกไม้ไปวางไว้ และได้นำ Minigame เข้ามาในระบบ โดยเป็นการสร้างห้องสำหรับ Robot arm นั้นๆ ตามจำนวนของโมเดลหากต้องการเล่นต้องนำการ์ดไปสแกนกับวัตถุที่ทำเป็นตัวสแกนจากการใช้ Raycast  โดยได้ทำให้โมเดลในห้องนั้นเป็นการควบคุมด้วย inverse kinematics (IK) โดยในตอนการนำเข้ามาในครั้งนี้นั้นได้มีบัคในการตอบสนองหลายอย่าง จึงยังไม่ให้มีการใช้งานกับผู้ที่มาทดลองเพราะยังไม่สามารถใส่ IK เข้าไปในโมเดลได้ทุกตัว

รายงานปฏิบัติงาน วันที่ 12 - 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2561

           ในช่วงสัปดาห์นี้ ได้ทำการเพิ่มเติม Script ในการบล็อคไม่ให้ Configuration joint ที่มีให้ใช้ภายในโปรแกรม Unity ที่นำมาใช้สำหรับทำ Inverse Kinematics (IK) เพราะตัว Configutation joint นั้นถึงแม้จะทำให้การขยับเชื่อมต่อกันกับตัวที่ เชื่อมไว้ทำให้เหมือน IK แต่ในการขยับที่สามารถ Lock แกนการขยับทั้งแบบ หมุ่น หรือ เคลื่อนที่ นั้นก็ไม่สามารถห้ามไม่ให้มนหลุดออกจากการกันได้เพราะเหมือนหากมีการบังคับให้ทำในส่วนที่ Lock ไว้นั้นก็จะหลุดออกไปแล้วค่อยกลับมารวมกัน  จึงมีได้เริ่มทำ Script ที่จะมาแก้ไขในส่วนนี้ โดยเป็น Script ที่จะมาบล็อคไม่ให้ขยับไปในแกนที่ไม่ต้องการได้  ซึ่งในส่วนของการทำก็ได้มีการถามพี่ป.โท ในแลปในตอนการเขียนเพราะไม่สามารถควบคุมการหมุ่นไปในค่า Negative ได้ พี่เชาว์จึงได้เข้ามาช่วยให้สามารถทำได้ และในตอนนำScript นี้เข้าไปในตัวทดลอง ก็สามารถบล็อคได้ แต่ในการขยับของโมเดลหุ่นยนต์นั้น ยังมีการขยับที่ไม่เป็นไปตามคาดไว้ เนื่องจากตัวโมเดลนั้นต้องหมุ่นด้วยการนำ Object ไปแทนแกนหมุ่นทำให้ต้องไปแก้ในจุดนั้น

รายงานปฏิบัติงาน วันที่ 19 - 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2561

     ได้มีการปรับปรุงในส่วนของ Inverse Kinematics (IK) ให้มีความนิ่งมากยิ่งขึ้นจากการทดลองในช่วงแรกโดยคำแนะนำจากพี่เชาว์ และได้ทำตามเป้าหมายที่บอกไว้กับอาจารย์ว่าจะทำให้หุ่นยนต์จำลองสามารถขยับในแบบ IK ได้สักตัว ซึ่งในตัวแรกที่ได้คือ Scara และที่เหลื่อตามต่อมา แต่ยังมีความผิดพลาดของการเคลื่อนที่ในส่วนของตัว Cartersian Robot และ Artuculate Robot ที่ไม่สามารถใช้ IK ให้มีการตอบสนองในหรือใกล้เคียงในอย่างที่คาดไว้  จึงได้ใช้การเพิ่มค่า Drag และ Angular Drag ไว้สูงๆเพื่อให้สามารถควบคุมการขยับของ Articulate Robot ได้ง่ายยิ่งขึ้น

รายงานปฏิบัติงาน วันที่ 22 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2561

       ได้มีการนำเสนองานให้อาจารย์สยามได้ชม และมีการทราบถึงข้อผิดพลาดเพื่อนำไปปรับปรุงระบบ และเพิ่มสิ่งที่ต้องมีเข้าไปในระบบเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจได้ง่ายและน่าสนใจยิ่งขึ้นตามที่อาจารย์สยามบอก เพื่อเตรียมเสนองาน และได้มีการขอให้มีผู้มารวมทดสอบระบบเพื่อเก็บค่าจากการเล่นของผู้เล่นเป็นจำนวนหนึ่ง 

bottom of page