top of page

บันทึกการฝึกงานสหกิจศึกษา
รายงานปฏิบัติงาน วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2561
ในการฏิบัติงานวันแรก พี่เชาซึ่งเป็นผู้ดูแลได้แนะนำให้รู้จักห้องปฏิบัติการว่าห้องปฏิบัตรการนี้มี รศ.ดร.สยาม เจริญเสียง เป็นอาจารย์ประจำห้องปฏิบัติการ แล้วประกอบไปด้วย 3 ปฏิบัติการย่อย ได้แก่ SEA Lab เป็นแลปที่วิจัยโดยการใช้คอมพิวเตอร์กราฟฟิกวิเคราะการได้ยิน และการมองเห็นของหุ่นยนต์ จากการดำรงชีวิตของมนุษย์เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาหุ่นยนต์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ต่อมาเป็นแลป Finite Element Analysis ซึ่งแลปนี้จะแยกออกเป็น 2 แลปย่อย คือ Computer-Intergrated-engineering เป็นแลปที่ใช้คอมพิวเตอร์กราฟฟิกช่วยในการวิเคราะห์โรงสร้างทางวิศวะกรรม และแลป Music Tecnology เป็นแลปที่พัตนาเครื่องเครื่องตนตรี เพื่อให้ใช้งานง่ายขึ้น ผลงานของแลปนี้ก็คือ เครื่องปรับ Auto tuner ของขิม และแลปสุดท้ายคือแลป Human-Computer-Interface (HCI Lab) เป็นแลปที่พัตนาเกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์หรือหุ่นยนต์ ผลงานของแลปนี้ก็คือ เครื่องช่วยกายภาพบำบัด เครื่องผสมสารเคมีทางไกล การสร้างชิ้นงานสามมิติทางไกล และการจำลองโลกเสมือนจริงโดยใช้เทคโนโลยี virtual reality แล้วพีเชาก็ให้เลือกว่าจะอยู่แลปใหน ซึ่งได้เลือกอยู่ HCI Lab แล้วพี่เชาก็ได้มอบหมายให้ไปศึกษาว่า Virtual Reality (VR), Augmented Reality (AR) และ Mixed Reality (MR) เป็นอย่างไร ซึ่งจากการศึกษาทำให้ทราบว่า
- Augmented Reality (AR) คือการซ้อนทับกันระหว่างโลกเสมือนกับโลกจริง
- Virtual Reality (VR) คือการจำลองโลกเสมือนจริงขึ้นมา โดยโลกจำลองนี้จะตัดขาดจากโลกภายนอกซึ่งเป็นโลกของความจริง
- Mixed Reality (MR) คือการผสมกันระหว่างโลกเสมือนกับโลกจริง
นางสาวทิภาพร มูลราช
รายงานปฏิบัติงาน วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2561
รูปภาพ และวิดีโอ การลองใช้เครื่อง VR
ได้เข้าอบรมเกี่ยวกับ ภาษา Python พื้นฐาน โดยพี่รอน จากบริษัท Cons Robotics ซึ่งเป็นเจ้าของเพจเฟสบุคชื่อ ลุงวิศวะกร สอนคำนวณ เป็นวิทยกร จากการอบรมทำให้เข้าใจภาษา Python มากยิ่งขึ้นเพราะวิทยากรสามารถอธิบายได้อย่างชัดเจน และเห็นภาพมากยิ่งขึ้น
นางสาวทิภาพร มูลราช

รูปภาพจากเพจ : ลุงวิศวะกร สอนคำนวณ
รายงานปฏิบัติงาน วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2561
ได้รับมอบหมายจาก อาจารย์สยาม ให้ทำหน้าที่นำเสนอห้องปฏิบัติการ แก่อาจารย์จากมหาวิยาลัยเทคโนโลยีสุระนารี และคณะผู้บริหารของบริษัทซันว่า ที่มาศึกษาดูงานที่ FIBO
นางสาวทิภาพร มูลราช
รายงานปฏิบัติงาน วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ.2561
ได้รับมอบหมายให้ประกอบให้ประกอบหุ่นยนต์ของเล่นแล้วทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานพื้นฐานของหุ่นยนต์ ว่ามีสามอย่าง คือ ระบบกลไกล ระบบอิเล็กทรอนิกส์ และระบบควบคุม หุ่นยนต์จึงจะสามารถทำงานได้ แล้วช่วงบ่ายอาจารย์สยามได้พาไปศึกษางานจากผลงานของนักศึกษา เพื่อหาแรงบรรดาลใจในการหาหัวข้อทำงาน และได้พาไปเยียมชม Studio ที่จัดไว้ให้นักศึกษาทำงาน แล้วหลังจากนั้นก็ได้ทำการทดสอบหุ่นยนต์ที่ได้ประกอบ
นางสาวทิภาพร มูลราช
รายงานปฏิบัติงาน วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2561
ช่วงเช้าได้รับมอบหมายให้ช่วยงานประฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ แล้วได้นำเสนอผลงานของห้องแลปแก่ผู้ปกครอง ช่วงบ่ายได้นำเสนอหัวข้อที่สนใจ คือ การพัฒนา Treadmill VR ต่อจากนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดร อาจารย์สยามจึงได้แนะนำให้ไปศึกษาการใช้โปรแกรม Unity แล้วสร้างวัตถุจำลอง 3 มิติ ขึ้นมาชิ้นหนึ่ง แล้วทำการติด Tracker และควบคุมวัตถุด้วย Tracker
นางสาวทิภาพร มูลราช
รายงานปฏิบัติงาน วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2561
ได้ศึกษาการใช้งานโปรแกรม Unity โดยการสร้างวัตถุขึ้นมาหนึ่งชิ้นแล้วควบคุมให้วัตถุนั้นกลิ้งไปตาการกดคีย์บอร์ด
นางสาวทิภาพร มูลราช
รายงานปฏิบัติงาน วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2561
ได้ศึกษาการใช้งานโปรแกรม Unity การควบคุมการเคลื่อนที่ของวัตถุด้วยเมาส์
นางสาวทิภาพร มูลราช
รายงานปฏิบัติงาน วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2561
ได้ศึกษาการใช้งานโปรแกรม Unity การควบคุมวัตถุด้วยตัว Controller VR และได้ศึกษาการเชื่อมต่อ Controller VR เข้ากับโปรแกรม Unity
นายเนติธร ครองยุติ
รายงานปฏิบัติงาน วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2561
ได้ศึกษาการใช้งานโปรแกรม Unity การควบคุม Game Object
นายเนติธร ครองยุติ
รายงานปฏิบัติงาน วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.2561
นายเนติธร ครองยุติ
ผลที่ได้ศึกษาการใช้งานโปรแกรม Unity การควบคุม Game Object และปรับมุมมองของตัวละครให้หันตามการกอคำสั่งจากคีย์บอร์ด
รายงานปฏิบัติงาน วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2561
ช่วงเช้าได้ไปเป็นผู้ช่วยวิทยากร ให้ความรู้เกี่ยวกัปัญญาประดิษฐ์ และหุ่นยนต์ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย แล้วอาจารย์สยามได้พาไปบ้านหม้อเพื่อแนะนำแหล่งที่สามารถหาซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ต่อมาช่วงบ่ายได้นำเสนอความก้าวหน้า ผลของการศึกษาโปรแกรม Unity แก่อาจารย์สยาม อาจารย์ได้แนะแนวทางว่าอยากให้ทำผลงาน VR ที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ของห้องปฏิบัติการ คือ เพื่อการศึกษา หรือเพื่อช่วยเหลือ โดยให้ตั้งประเด็นว่า ทำเพื่อใคร แล้วทำเพื่ออะไร และยังได้แนะแนวต่ออีกว่าอยากให้ทำแนวเพื่อการศึกษา เช่น พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น
นางาสาวทิภาพร มูลราช
รายงานปฏิบัติงาน วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2561
ได้ศึกษาตัวอย่างการนำ VR มาประยุกต์ใช้ในพิพิธภัณฑ์ จากเว็บไซต์ดังต่อไปนี้
- http://tv.bectero.com/morningworld/53750/%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%83%E0%B8%8A
- https://www.slideshare.net/rachabodin/virtual-museum-12860611
- https://www.voicetv.co.th/read/243669
- https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/39
- http://www.nsm.or.th/nsm2008/vr_museum/
ตัวอย่างการนำ VR มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์
- https://www.media.mit.edu/projects/body-quest/overview/
นางาสาวทิภาพร มูลราช
รายงานปฏิบัติงาน วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ.2561
ได้วางแผนที่ต้องการจะนำ VR มาประยุกต์ไว้ 3 แผน คือ
1.พิพิธภัณฑ์หุ่นยนต์
- เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับหุ่นยนต์แก่ผู้ที่สนใจ
- มีเกมส์ วิดีโอ และคำอธิบาย
- กลุ่มเป้าหมาย อายุ 12ปี ขึ้นไป
2.สื่อการเรียนวิทยาศาสตร์
- เพื่อให้นักเรียนเข้าใจวิชาวิทยาศาสตร์มากขึ้น
- มีแบบจำลง เกมส์ แบบฝึกหัดให้ทำ
- กลุ่มเป้าหมาย อายุ 12ปี ขึ้นไป
3.การหัดขับรถ
- สำหรับคนที่ต้องการหัดขับรถ หรือจะทำใบขับขี่
- กลุ่มเป้าหมาย อายุ 18ปี ขึ้นไป
แล้วผลสรุปที่ได้คือ จะทำระบบนิทรรศการหุ่นยนต์จำลองเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับหุ่นยนต์
รายงานปฏิบัติงาน วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ.2561
นางาสาวทิภาพร มูลราช
ทำการร่างแบบเสนอหัวข้อโครงการพิเศษ(Proposal) ในหัวข้อ นิัสทรรศการหุ่นยนต์จำลอง (Virtual Robot Exhibition)
นางาสาวทิภาพร มูลราช
รายงานปฏิบัติงาน วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2561
นำเสนอหัวข้อโครงงานพเศษ (Proposal) และทำการปรับแก้
นางาสาวทิภาพร มูลราช
bottom of page